[vc_row][vc_column width=”1/4″][vc_single_image image=”146″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”154″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”145″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”161″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”164″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”151″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”153″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”156″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”162″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”152″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”158″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][vc_single_image image=”159″ alignment=”left” img_link_target=”_self”][/vc_column][vc_column width=”3/4″][vc_column_text]

28 กันยา 2516 เวลา 00.47 นาฬิกา.. ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ

หากมีคนบอกว่าผมเกิดในวันพฤหัสฯ ก็คงจะเป็นวันพฤหัสฯ เพราะผมเกิดในคืนวันพฤหัสฯเวลาเที่ยงคืนสี่สิบเจ็ดนาทีพอดี ซึ่งถ้านับเป็นวันจริงๆ มันก็คืวันศุกร์แล้ว ดังนั้นตามวันที่เกิด ผมจึงเกิดในวันศุกร์ หมอดูบางคนก็ว่าผมเกิดวันพฤหัสฯ หมอดูบางคนก็บอกว่าต้องดูวันศุกร์ แต่ที่แน่ๆ ตอนเกิดผมมีชื่อว่า สกนต์ และก็โดนเปลี่ยนชือตั้งแต่เด็กยังไม่รู้ความเป็น ภาณุพันธ์ จนมาใช้ชื่อธิติพันธ์ในปัจจุบัน

จากเด็กอ่อนแอ ไม่มีเป้าหมาย กลายเป็นเด็กล่ำบึ้ก บ้ากิจกรรมสังคม

ในวัยเด็กตอนเรียนประถม จนจบมัธยมปลาย ผมเรียนที่โรงเรียนศรีวิกรม์ ตั้งแต่ประถมถึงมัธยมตนปีที่ 1 ผมยังคงเป็นกลุ่มเด็กที่จะว่าเรียนก็ไม่เชิง จะเล่นกีฬาก็ไม่ได้เล่น ทำกิจกรรมอะไรกับเขาก็ไม่ได้ทำ ไม่เด่นแต่ก็ไม่ห่วย การเรียนอยู่ห้องควีน แต่พอขึ้นมัธยมปีที่ 2 ผมถูกชักชวนให้เข้าไปฝึกในกองร้อยพิเศษ นั่นคือสิ่งที่ผมกล้าพูดว่าเป็นสิ่งพลิกผันในชีวิตอย่างแรง ทำให้ผมได้เรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า การทำงาน ความรับผิดชอบ เพราะงานกองร้อยพิเศษเป็นงานที่ต้องทำให้คนอื่น โดยมีชื่อเสียงของตัวเองและพวกพ้องเป็นสิ่งค้ำประกัน ผมพึ่งได้เรียนรู้คำว่า รุ่นพี่สร้างมา จากการเข้าร่วมกลุ่มนี้ และรุ่นเราต้องทำต่อไปให้ดี ได้เรียนรู้การอดทนนั่งตากแดด นอนตากฝน กลางคืนฝนตกนอนเอาผ้าเช็ดหน้าคลุมหน้าผืนเดียวมันเป็นยังไง บางทีต้องไปแช่น้ำตั้งแต่หกโมงยันสี่ทุ่ม เพื่อช่วยฐานล่องแก่ง ให้เด็กล่องห่วงยางผ่านไปได้ บางทีต้องไปนั่งคาบนต้นไม้ เสี่ยงตายก็มี ชีวิตในตอนนั้นเหมือนอีกโลกที่แตกต่างไปจากอดีต จนกระทั่งขึ้นมัธยมปลาย ผมก็ได้ผลตอบรับากการทำงานในตอนมัธยมต้น คือการได้เป็นนายกรับเลือกของสโมสรอินเตอร์แร็ค และเป็นรองประธานชมรมวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังทำงานให้กับชมรมคณิตศาสตร์และภาษาไทยด้วย ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เริ่มทำนิตยสารวารสารวิทยาศาสตร์เป็นหนังสือเล่มแรกที่ทำ ทำด้วยตัวเอง ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จนกระทั่งสำเร็จ และก็โดนด่า เป็นวารสารวิทยาศาสตร์ที่ห่วยที่สุดเท่าที่เคยทำมา ตอนนั้นผมพยายามนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ความรู้ด้านวิชาการ อยากทำวารสารที่ออกมาตลอดทุกเดือน ไม่ใช่ออกเทอมละครั้ง แต่มันก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า

นอกจากการได้เรียนรู้การทำวารสารแล้ว ยังได้รู้ถึงเรื่องของ “หน้าตาทางสังคม” จากการทำงานในสโมสรอินเตอร์แร็ค ทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนที่ต้องการหน้าตาในสังคม แต่ตัวเองจริงๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย ผลก็คือผมเองทนอยู่ในชมรมไม่ไหว จริงๆ เพื่อนทุกคน ประธานชมรม นายกสโมสร และอาจารย์ที่ปรึกษานั่นดีครับ ที่ไม่ดีมีเพียงคนเดียวเท่านั้นคือผู้ควบคุมชมรมทั้งหมด ที่ไม่เคยลงมาทำงาน แต่สั่งอย่างเดียว และเอาหน้าไปโดยใช้ชื่อตัวเองมาก่อนชื่อโรงเรียน พอขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผมก็เลยตัดสินใจทำงานให้ชมรมวิทยาศาสตร์ ลาออกจากสโมสรอินเตอร์แรค และทำงานให้กับทางชมรมอื่นๆ บ้างประปราย ผมสนุกกับกิจกรรม แต่การเรียนก็ไม่เคยเสียหาย ยิ่งมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผมเริ่มตั้งใจอ่านหนังสือสอบ เพราะอยากวัดระดับตัวเองเทียบกับคนอื่นๆ และก็ทำให้รู้ว่า เราแค่อ่านเพิ่มขึ้น ก็สามารถสู้กับเขาได้ ผมสอบเทียบได้ตอนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และได้เอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ แต่ตัดสินใจไม่ไปเรียนเพราะคุณย่าอยากให้เรียนมัธยมศึกษาปีที่หกก่อน แต่ท่านก็เสีย ตอนที่ผมเรียนมัธยมศึกษาปีที่หกที่ศรีวิกรม์นี้เอง จนกระทั่งผมจบมัธยมศึกษาปีที่หกจริงๆ แล้วก็สอบเข้าคณะวิศกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียใหม่ได้

โซตัสในสายเลือด ธงเกียร์ เลือดเป็นสีเลือดหมู

แม้จะได้ชื่อว่าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ผมก็เอนทรานซ์เข้าไปเรียนภาคพิเศษ ไม่ใช่ภาคปกติ ซึ่งก็อาจจะเป็นโชคดีที่เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะที่นี่ภาคพิเศษและภาคปกติ เรียนเหมือนกัน สอบด้วยกัน ดังนั้นคุณสมบัติ ระดับการเรียน ความยาก ก็จะเหมือนกันทุกอย่าง ทำให้ภาคพิเศษของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการยอมรับไม่ต่างอะไรจากภาคปกติ สิ่งหนึ่งที่คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในตอนนั้นเป็น ก็คือมีโซตัสที่เข้มแข็งมาก ในคณะมีการซ้อมเชียร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าซ้อม และยอมรับได้หมด แม้ว่าแรกๆ จะถูกบังคับ แต่เมื่อเห็นการปฏิบัติตัวที่ชัดเจนของรุ่นพี่ คือระหว่างซ้อมเชียร์ จะไม่มีคำหยาบหลุดจากปากรุ่นพี่โดยเด็ดขาด ไม่มีการข่มขู่ ตวาด ตะคอกใส่เป็นคน จะไม่เห็นรุ่นพี่ใช้อารมณ์ เงื่อนไขสำคัญคือ สิ่งที่สั่งให้น้องทำ ตัวเองก็ต้องทำได้ นั่นทำให้โซตัสมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในตอนนั้นเข็มแข็งมาก รุ่นพี่ไม่เคยให้เราฟังคำสั่งแบบโง่ๆ ไม่เคยบอกให้เราเอาสิ่งที่ไม่ดีไปทำตาม เก็บสิ่งดีๆไป สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ ซีเนียร์ลิตี้ ไม่ใช่ออร์เดอร์ ไม่ใช่เทรดิชั่น แต่เป็น ยูนิตี้ และนั่นก็ติดตัวเรามาตลอดเวลา ตอนเรียน ผมไม่ได้เป็นคนเรียนดีเหมือนสมัยมัธยมปลาย เรียนมหาวิทยาลัยเรียนเล่นๆ ไม่ได้ แต่ผมก็ยังเรียนเล่นๆ จบมาแบบทุกลักทุเล แต่ได้ทุกคนที่มาช่วย เพื่อนที่เรียนดีกว่ามาช่วยสอน เพื่อนที่จบไปแล้วมาให้กำลังใจ ยูนิติ ทำให้เราทุกคนเสียสละ และช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี จนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีการช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ที่ทำให้ผมซึ้งใจอยู่เสมอ

จบปี 40 วิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่ได้่ทำงานวิศวะ ไปทำงานหนังสือ?

ผมเรียนจบมาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจพอดี ปัญหาในตอนนั้นที่ผมเจอคือผมหางานไม่ได้ แม้จะไม่ได้เร่งอะไร เพราะป๊าอยากให้บวชก่อน แต่ผมก็ยังอยากหางาน เพียงแต่ตอนไปสมัคร ผมพบว่าคู่แข่งของผมส่วนมากจะมีประสพการณ์ทั้งนั้น ตอนนั้นวิศวกร ถูกเลย์ออฟเป็นจำนวนมาก ผมเองหลังจากบวชก็ยังหางานไม่ได้ พี่ที่รู้จักกันจึงชวนให้ไปทำงานที่สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ โดยเขาบอกว่า “ให้ทำไปก่อน ปีสองปีค่อยหางานใหม่” ผมจึงตัดสินใจไปทำงานที่วิบูลย์กิจในตำแหน่งกองบรรณาธิการ ซึ่งงานที่นั่นก็สนุก มีบ้างที่ไม่พอใจ แต่โดยมากเป็นสถานที่ทำงานที่ให้ความรู้ด้านการบริหารกับผมมาก ผมทำงานตั้งแต่เขียนบทวาม แกะซองจดหมาย ถ่ายเอกสาร บางวันยืนถ่ายเอกสารตั้งแต่เช้าจรดเย็นเลิกงาน ผมได้จับงานอีเวนท์ VIBULKIJ COMIC PARTY ปีแรกแทบไม่ได้มีส่วนร่วมอะไร นอกจากในบูธของนิตยสาร เมก้า แต่ปีต่อมา ผมได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมวางแผนงาน จนปีที่ 3 ถือเป็นปีที่ผมมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะมีส่วนในการดีไซน์งานทั้งหมด ตั้งแต่ธีมที่เป็น คอมมิคมาร์เกต ลักษณะคล้ายตลาดนัดญี่ปุ่น ดีไซน์ธง ดีไซน์ป้ายผ้า อิมเมจของงานตั้งแต่ประตูเลื่อนเปิดบนเวที ลูกตุ้มทรงกลมเปิดงาน โคมห้อยในงาน ทำบูธสำหรับถ่ายรูป และภาคภูมิใจเมื่องานในปีนั้นถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดเลยทีเดียว จนกระทั่งปีต่อมาคาแรคเตอร์ คาราวาน ผมก็ช่วยในการดีไซน์ล้อเกวียน และทำฉากประกอบ หลังจากนั้นงานวิบูลย์กิจ คอมิค ปาร์ตี้ ก็ย้ายมาจัดที่ซีคอนสแควร์ และผมก็ลดบทบาทลงไปทำงานบนเวที ควบคุมคิวอีเวนท์

นอกเหนือจากงานอีเวนท์ ผมได้ตำแหน่งบรรณาธิการ ในปี 2005 แทนพี่ที่ออกจากงานไป ได้นำเสนอโครงการต่างๆ ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนคือโครงการบทสรุปรวมเล่ม โดยมีนำร่องด้วยเกมออนไลน์ ฟลิฟ ออนไลน์ และเกมดราก้อนเควสท์ 8 ถือเป็นโครงการที่มีการสร้างแนวทางใหม่ๆ ในตอนนั้น แม้ว่าในภายหลังจะประสพปัญหาเนื่องจากปัญหาการจัดจำหน่ายของทางบริษัท แต่ก็ถือว่าเป็นงานที่แตกต่างไปจากเดิมของทีมงานอย่างมาก เว็บไซต์ MXG เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมนำเสนอ และมีการสร้างขึ้นมา แม้จะไม่มียอดและไม่ได้ประสพความสำเร็จ แต่ก็ถือเป็นโครงการที่มีการผลักดันจนเกิดขึ้นได้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันอย่างหนึ่ง

ระหว่างทำงานที่วิบูลย์กิจ ผมได้มีโอกาสไปงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นการไปต่างประเทศครั้งแรก (ถ้าไม่นับตอนเด็ก) การไปญี่ปุ่นครั้งนี้ทำให้ผมเห็นสิ่งต่างๆ ที่เคยคิดไว้ ภาพที่เห็นมันแตกต่างจากที่คิดมาก สถานีชินจูกุที่เร่งรีบ คนเดินันขวักไขว่ ภาพของเมืองที่สวยงามและเป็นระเบียบ และสาวญี่ปุ่นที่ขาโต (มาก)

เรียนต่อปริญญาโทที่จุฬา และมีแฟนที่น่ารักที่สุดที่นี่

หลังจากที่ออกจากวิบูลย์กิจมา ผมตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ แต่ไม่ทันไร คุณพ่อก็เสียไปซะก่อน ผมสอบได้หลังจากที่คุณพ่อเสีย โดยได้คะแนนสอบ CU Best ดีที่สุดในรุ่น หลังจากที่เข้าไปเรียน ทำให้ผมได้พบว่า หลายสิ่งที่ผมคิดว่ารู้ ยังมีอีกมากที่เข้าใจผิด และอีกหลายอย่างที่ผมไม่รู้จริงๆ ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากอาจารย์หลายท่าน เพื่อนๆ ก็ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะมิตรภาพที่ดีของทุกคน ผมได้ศึกษาวิชาหลักและวิชาเลือกที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบัน ผมนำหลายวิขามาประยุกต์ใช้อย่างเช่น ดาต้าอนาไลซิส ในการสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ด้วยโปรแกรมเอกเซล ผสมกับการคำนวนทางสถิติ ซึ่งเรียนจากวิชามาร์เกตรีเซิร์จ ผมประยุกต์ใช้วิชาแบรนดิ้ง และไพรซิ่งกับงานที่จะได้ทำ ที่สำคัญคือผมได้พบกับสุ แฟนคนปัจจุบัน ที่เป็นคนดี และดีกับผมมากๆ ตลอดมา

หลังจากเรียนจบได้สามปี ผมก็ได้เข้าทำงานที่บริษัทบางกอกชูโฮอินเตอร์เนชั่นแนล ทำงานในฐานะบรรณาธิการบริหาร โดยทำหน้าที่ดูแลทั้งหมดของนิตยสาร Gozzo แบรนดิ้งได้ถูกนำมาใช้ในการกำหนดเอกลักษณ์ของนิตยสาร ทำให้นิตยสาร Gozzo ได้รับความสนใจและการยอมรับอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผมออกจากงานในช่วงปลายปี ค.ศ.2012 เนื่องจากบริษัทบางกอกชูโฮอินเตอร์เนชั่นแนลประสพปัญหา ส่วนหนึ่งจากการลงทุนในนิตยสาร Gozzo ซึ่งแม้ว่านิตยสารกำลังเติบโตไปด้วยดี แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรได้ ต้องใช้เวลา จึงทำให้บริษัทตัดสินใจปิดนิตยสาร เหลือเพียงแฟนเพจไว้ในปัจจุบัน

ชีวิตคือการเรียนรู้

มาถึงปัจจุบัน ผมยังคงคิดและมองหาหนทางไปข้างหน้าต่อไป การทำนิตยสาร Gozzo ร่วมงานกับทางบางกอกชูโฮอินเตอร์เนชั่นแนล ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก ผมได้ไปประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งในช่วงต้นปี ค.ศ.2012 ร่วมเดินทางไปกับผู้บริหารชื่อดังอย่างพี่แซม แห่งโออิชิกรุ๊ป มล.ลือศักดิ์ แห่ง S&P คุณกิตติ จากนิปปอนเทย์ เป็นต้น การได้ไปพบเจอคนญี่ปุ่นที่พยายาปรับตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องเน้นการส่งออกพยายามศึกษาภาษาต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราพบว่าพวกเขาพยายามยืนหยัดด้วยตัวเองอย่างเข้มแข็ง และมุ่งหน้าแหวกหนทางที่ตีบตันไปสู่อนาคตด้วยตนเอง การเรียนรู้ ไม่มีวันจบสิ้น เราไม่มีวันรู้มากหรือรู้ได้ถึงที่สุด เพราะสุดท้ายก็จะมีสิ่งใหม่ๆ ให้เราได้เรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ จากงานที่ทำ จากคนที่พบเจอ และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ผมยังคงสนใจจะเจอกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคตที่กำลังจะมาถึง..

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_column width=”1/2″][/vc_column]